แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

Isometric Geometric 3d Objects And Lines
Russian 3D Avant Garde Shapes Half Torus

การพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

ศึกษานิเทศก์

Fun 3D Designer's Desk
3D Buildable Corporate Books
Minimalist UI Dropdown Menu Element
Person Working Happily
Isometric Geometric 3d Objects And Lines
Next Arrow Button
Next Arrow Button

ประกาศสำนักงาศึกษาธิการจังหวัดสุราษฎร์ธานี

เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล การจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ (Coding) ระดับชั้นประถมศึกษา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

PowerPOINT แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน PA ตามองค์ประกอบ ประจำปีงบประมาณ 2565

การพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่งศึกษานิเทศก์

label

ด้านการนิเทศการศึกษา

Russian 3D Avant Garde Shapes Half Torus

ลักษณะงานที่เสนอให้ครอบคลุมถึงการออกแบบจัดทำ แผนการนิเทศการศึกษา การคัดสรรสร้าง พัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยี การปฏิบัติการนิเทศ การพัฒนางานวิชาการ การประสานงานกับหน่วยงาน สถานประกอบการ และการรายงานผลการนิเทศ

3D Floating Element Light Bulb

งาน (Tasks)

  • ออกแบบจัดทำแผนการนิเทศการจัดการเรียนรู้
  • พัฒนาช่องทางการนิเทศการจัดการเรียนรู้
  • ดำเนินการนิเทศการจัดการเรียนรู้
  • พัฒนาองค์ความรู้ให้กับผู้รับการนิเทศ
  • สรุป รายงานผล
3D Floating Element Light Bulb

ตัวชี้วัด (Indicators)

  • ผู้เรียนในระดับช่วงชั้นที่ 2 คะแนนการเรียนรู้ในวิชาวิทยาการคำนวณ (Coding) สูงขึ้น
  • ผู้เรียนในระดับช่วงชั้นที่ 2 มีความพึงพอใจต่อวิธีการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณ (Coding) ของครูผู้สอน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80
  • ครูผู้สอนวิทยาการคำนวณ (Coding) ในระดับช่วงชั้นที่ 2 มีความพึงพอใจต่อการนิเทศการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ (Coding) ในระดับช่วงชั้นที่ 2 ร้อยละ 80
  • สถานศึกษาให้ความสนใจต่อการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ (Coding) ในระดับช่วงชั้นที่ 2 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5
  • สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีสถานศึกษาเอกชน ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ (Coding) ในระดับช่วงชั้นที่ 2 ร้อยละ 100
label

ด้านการส่งเสริมและสนับสนุน การจัดการศึกษา

Russian 3D Avant Garde Shapes Half Torus

ลักษณะงานที่เสนอให้ครอบคลุมถึงการวางแผน การส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการจัดการศึกษา การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับ สถานศึกษา/หน่วยงานการศึกษา การติดตามประเมินผล การส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษา และการจัดทำรายงานสารสนเทศ

3D Floating Element Light Bulb

งาน (Tasks)

  • วางแผนการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ (Coding) ในระดับช่วงชั้นที่ 2
  • แสวงหาความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ
  • ติดตาม ประเมินผลแผนการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ (Coding) ในระดับช่วงชั้นที่ 2
  • จัดทำรายงานสารสนเทศ
3D Floating Element Light Bulb

ตัวชี้วัด (Indicators)

  • ร้อยละ 80 ของผู้เรียนในระดับช่วงชั้นที่ 2 คะแนนการเรียนรู้ในวิชาวิทยาการคำนวณ (Coding) สูงขึ้น
  • ร้อยละ 80 ของผู้เรียนในระดับช่วงชั้นที่ 2 มีความสุขกับการเรียนรู้ในวิชาวิทยาการคำนวณ (Coding)
  • ร้อยละ 80 ของครูผู้สอนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ (Coding) ในระดับช่วงชั้นที่ 2 เพิ่มสูงขึ้น
  • ร้อยละ 100 ของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ (Coding) ในระดับช่วงชั้นที่ 2
label

ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

Russian 3D Avant Garde Shapes Half Torus

ลักษณะงานที่เสนอให้ครอบคลุมถึงการพัฒนาตนเองให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ การเข้าร่วม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อปรับประยุกต์ในการจัดการเรียนรู้และการจัดการศึกษา การนำความรู้ ความสามารถทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้การพัฒนาคุณภาพ ผู้เรียน รวมถึงการพัฒนานวัตกรรม การจัดการเรียนรู้ที่มีผลต่อคุณภาพครูและผู้เรียน และเผยแพร่องค์ความรู้ ด้านการนิเทศการจัดการเรียนรู้และการจัดการศึกษา และบริการวิชาการแก่หน่วยงานการศึกษา หรือหน่วยงานต่าง ๆ

Next Arrow Button

Certificate เกียรติบัตรการพัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ

3D Floating Element Light Bulb

งาน (Tasks)

  • พัฒนาตนเองให้มีความรู้ ความสามารถทักษะการสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา พัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพศึกษานิเทศก์ และศึกษาวิธีการ กระบวนการนิเทศการศึกษาทั้งในไทยและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง
  • การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ
  • นำความรู้ที่ได้มาพัฒนาการนิเทศการศึกษา
  • เผยแพร่องค์ความรู้ด้านการนิเทศ
3D Floating Element Light Bulb

ตัวชี้วัด (Indicators)

  • ร้อยละ 80 ของผู้เรียนในระดับช่วงชั้นที่ 2 คะแนนการเรียนรู้ในวิชาวิทยาการคำนวณ (Coding) สูงขึ้น
  • ร้อยละ 80 ของผู้เรียนในระดับช่วงชั้นที่ 2 มีความสุขกับการเรียนรู้ในวิชาวิทยาการคำนวณ (Coding)
  • ร้อยละ 80 ของครูผู้สอนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ (Coding) ในระดับช่วงชั้นที่ 2 เพิ่มสูงขึ้น
  • ร้อยละ 100 ของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ (Coding) ในระดับช่วงชั้นที่ 2

ประเด็นท้าทาย

การพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ หรือการจัดการศึกษาของผู้รับการนิเทศ หรือการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาหรือหน่วยงานการศึกษา

Isometric Geometric 3d Objects And Lines

ประเด็นที่ท้าทาย เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ หรือการจัดการศึกษาของผู้รับการนิเทศ หรือการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาหรือหน่วยงานการศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในหน่วยงานการศึกษาที่รับผิดชอบของผู้จัดทำข้อตกลงซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์วิทยฐานะศึกษานิเทศก์ชำนาญการ ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของวิทยฐานะชำนาญการ คือ การแก้ไขปัญหา เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น หรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังในวิทยฐานะที่สูงกว่าได้)

Russian 3D Avant Garde Shapes Torus

ประเด็นท้าทาย เรื่อง การพัฒนาการจัดทำแผนการนิเทศการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ (Coding) ในระดับช่วงชั้นที่ 2 ของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

3D Floating Element Light Bulb

สภาพปัญหาของการจัดการเรียนรู้และการจัดการศึกษา

  • Coding เป็นส่วนหนึ่งของวิชาวิทยาการคำนวณ และเป็นวิชาบังคับในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) มีเป้าหมายเพื่อมุ่งส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีเหตุผลคิดอย่างมีวิจารณญาณ และคิดเชิงสร้างสรรค์
  • การสำรวจข้อมูลในปีการศึกษา 2563 พบว่า โรงเรียนเอกชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานีก็พบปัญหา การจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ (Coding) ที่เกิดจากความรู้ ความสามารถ ความชำนาญ และทักษะของครูผู้สอน
  • การแพร่ระบาดของของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) สถานศึกษาในจังหวัดสุราษฎร์ธานีจำเป็นจะต้องจัดการศึกษาแบบออนไลน์มาแล้วอย่างน้อย 1 ปีการศึกษา ซึ่งส่งผลต่อการจัดการศึกษาสถานศึกษาทั่วประเทศ
  • นำแนวคิดกระบวนการนิเทศแบบ POLCA ของแฮริส (Harris, 1963) มาใช้เป็นส่วนสำคัญในการนิเทศการจัดการเรียนรู้ ผ่านช่องทางการนิเทศฯ ที่สอดคล้องกับภาวะวิกฤติของการการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นในทุกมิติ
3D Floating Element Light Bulb

วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

  • เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ (Coding) ในระดับช่วงชั้นที่ 2 ของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • เพื่อพัฒนาการจัดทำแผนการนิเทศการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ (Coding) ในระดับช่วงชั้นที่ 2 ของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • ดำเนินการนิเทศการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ (Coding) ในระดับช่วงชั้นที่ 2 ของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานีตามแผนการนิเทศที่กำหนดไว้
  • เพื่อประเมินความเหมาะสมของแผนการนิเทศการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ (Coding) ในระดับช่วงชั้นที่ 2 ของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • จัดทำรายงานผลการจัดทำแผนการนิเทศการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ (Coding) ในระดับช่วงชั้นที่ 2 ของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
3D Floating Element Light Bulb

ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

เชิงปริมาณ

ผู้เรียน

  • นักเรียนในระดับช่วงชั้นที่ 2 ของโรงเรียนเอกชนจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีความพึงพอใจต่อวิธีการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณ (Coding) ของครูผู้สอนร้อยละ 80

ผู้สอน

  • ครูผู้สอนวิทยาการคำนวณ (Coding) มีความพึงพอใจต่อแผนการนิเทศการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ (Coding) ในระดับช่วงชั้นที่ 2 ของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานีร้อยละ 80

สถานศึกษา

  • สถานศึกษาให้ความสนใจต่อการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ (Coding) ในระดับช่วงชั้นที่ 2 ของโรงเรียนเอกชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพิ่มขึ้นร้อยละ 5

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุราษฎร์ธานี

  • สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีสถานศึกษาเอกชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานีจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ (Coding) ในระดับช่วงชั้นที่ 2 ร้อยละ 100


เชิงคุณภาพ

ผู้เรียน

  • นักเรียนสามารถฝึกการคิดอย่างเป็นระบบ ค้นเจอปัญหาและเงื่อนไข รู้เหตุและผล เข้าใจกระบวนการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นทักษะสำคัญและจำเป็นสำหรับเด็กในศตวรรษใหม่

ผู้สอน

  • ครูผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณ (Coding) ในระดับช่วงชั้นที่ 2 เพิ่มขึ้น และสามารถค้นหาวิธีการจัดการเรียนรู้ได้อย่างน่าสนใจ

สถานศึกษา

  • สถานศึกษาสามารถสร้างโอกาสและสนับสนุนให้ครูผู้สอนมีความรู้ความสามารถและได้พัฒนาทักษะในการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ (Coding) จนสามารถนำไปสู่โรงเรียนต้นแบบด้านการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ (Coding) ต่อไป

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุราษฎร์ธานี

  • สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุราษฎร์ธานีจะมีคู่มือและแนวทางการนิเทศการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อการแก้ไขปัญหาการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ (Coding) ในระดับช่วงชั้นที่ 2 และพัฒนาต่อยอดสำหรับช่วงชั้นอื่น ๆ ต่อไป

นิเทศ ติดตาม และประเมินผล

การจัดการเรียนรู้วิทยาการการคำนวณ (Coding) ระดับประถมศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี

3D Floating Element Folder
Russian 3D Avant Garde Shapes Torus
Russian 3D Avant Garde Shapes Half Torus
Next Arrow Button

WEBSITE การนิเทศ ติดตาม และประเมินผล

การจัดการเรียนรู้วิทยาการการคำนวณ (Coding) ระดับประถมศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี

Next Arrow Button

INFOGRAPHIC การพัฒนาการจัดทำแผนการนิเทศ

การจัดการเรียนรู้วิทยาการการคำนวณ (Coding) ระดับประถมศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี

Next Arrow Button

REPORT การพัฒนาการจัดทำแผนการนิเทศ

การจัดการเรียนรู้วิทยาการการคำนวณ (Coding) ระดับประถมศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี